ยินดีต้อนรับเข้าสู่ระบบ

ยินดีต้อนรับเข้าสู้เว็ปไซด์ Lalita Klinhom

งานนำเสนอประวัติส่วนตัว

วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดบทที่ 4


1.  สื่อกลางประเภทมีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
ตอบ  ได้แก่          -  สายทองแดงแบบไม่หุ้มฉนวน (Unshield Twisted Pair)
                                -  สายทองแดงแบบหุ้มฉนวน (Shield Twisted Pair)
                                -  สายโคแอคเชียล (Coaxial)
                               -  ใยแก้วนำแสง (Optic Fiber)

สื่อกลางประเภทมีสาย
ข้อดี
ข้อเสีย
1.ป้องกันสัญญาณรบกวน
1.ไม่สามารถใช้รับ-ส่งสัญญาณได้เกิน 185 เมตร
2.มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล 10/100Mbps
2.มีความเร็วในการส่งข้อมูลต่ำ
3.มีฉนวนด้านนอกหนา

4.ใช้งานในการเชื่อมต่อระยะทางใกล้ๆ



2.  สื่อกลางประเภทไม่มีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
ตอบ  ได้แก่          - สัญญาณดาวเทียม
- สัญญาณไมโครเวฟ

สื่อกลางประเภทไม่มีสาย
ข้อดี
ข้อเสีย
1.สื่อกลางประเภทไร้สาย
1.มีราคาแพง
2.ใช้งานในการเชื่อมต่อในระยะไกล
2.ต้องรักษาอย่างดี
3.สะดวก
3.หาซื้อยาก








3.  PAN และ SAN คืออะไรจงอธิบาย
ตอบ     PAN คือ "ระบบการติดต่อไร้สายส่วนบุคคล" ย่อมาจาก Personal Area Network เรียกว่าBluetooth
- Ultra Wide Band (UWB) ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.3a
- Bluetooth ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.1a
- Zigbee ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.4a
เทคโนโลยีเหล่านี้ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ให้สามารถรับส่งข้อมูลให้ ถึงกันได้ และยังใช้สำหรับการรับส่งสัญญาณวีดีโอที่มีความละเอียดสูงได้
Personal Area Network (PAN) ช่วยให้เราสามารถจัดการข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆที่เคลื่อนที่ไปมาได้อย่างหลากหลายคิดค้นโดยนักวิจัยของ MIT รวมกับIBM โดยจะสร้างกระแสไฟฟ้าแรงต่ำ (ระดับพิโคแอมป) ออกไปตามผิวหนังโดยเครื่องรับสัญญาณตามจุดต่างๆ ของร่างกายสามารถรับสัญญาณได้ เทคโนโลยีนี้จะเหมาะกับการใช้งานทางการแพทย์ เพราะอุปกรณ์ โดยมากจะมีการติดตั้งตามลำตัวมนุษย์  พัฒนาโดย Bluetooth Special Interest Group (www.bluetooth.com) เริ่มก่อตั้งในปี 1998 ด้วยความร่วมมือกันระหว่าง Ericsson, IBM, Intel, Nokia และ Toshiba ซึ่ง Bluetooth (บลูทูธ) การสื่อสารระยะสั้น (Short-range Transmission) ที่ติดต่อสื่อสารแบบดิจิตอล โดยสามารถส่งและติดต่อข้อมูลแบบ Voice และ Data ระหว่างอุปกรณ์ที่เป็นคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือต่างๆ (PC, Laptop, PDA, Mobile phone ฯลฯ) โดยการติดต่อสื่อสารสามารถทำได้ทั้งแบบ point-to-point และ Multi-point

ส่วน  SAN เป็นระบบเครือข่ายของที่เก็บข้อมูล โดยนำอุปกรณ์ที่จัดเก็บข้อมูลมาติดตั้งรวมกันเป็นเครือข่าย มีระบบจัดการข้อมูลบนเครือข่ายที่ทำให้รับส่งข้อมูลได้รวดเร็ว ทำให้ข้อมูลที่เก็บเสมือนเป็นส่วนกลางที่แบ่งให้กับซีพียูหลายเครื่องได้
การจัดเก็บที่เก็บแบบนี้จึงต้องสร้างสถาปัตยกรรมใหม่ เพื่อให้รองรับระบบดังกล่าว การทำงานนี้จึงคล้ายกับการสร้างเครือข่ายของที่เก็บข้อมูลแยกต่างหาก เป็นการสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพได้ และสามารถใช้งานได้ดีกว่าแบบเดิม ด้วยเหตุผลที่แนวโน้มของการเก็บข้อมูลข่าวสารความรู้ในองค์กรมีมาก การดูแลฐานความรู้และข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีการสร้างระบบเพื่อรองรับองค์กรในอนาคต SAN จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของการบริหารและจัดเก็บข้อมูลบนเครือข่าย มีความเชื่อถือได้ในระดับสูงกำลังจะกลายเป็นของคู่กันสำหรับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดกลางและขนาดใหญ่ในอนาคตในบ้านเรา แต่สำหรับในต่างประเทศ เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องปกติ Storage Area Network หรือ SAN เป็นระบบโครงสร้างที่มีการเชื่อมต่อทางข้อมูลข่าวสารระหว่างกลุ่มของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ล้ำหน้า ที่จะช่วยให้สามารถจัดเก็บและดึงข้อมูลขนาดใหญ่ หรือปริมาณมหาศาล ออกมาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และง่ายต่อการบริหารจัดเก็บข้อมูล ระบบของ SAN ไม่ใช่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของการจัดเก็บข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายความว่า SAN ไม่ได้อยู่ในเครือข่ายแลน แต่อยู่ด้านหลังของเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ โดยทำหน้าที่ดูแลการจัดเก็บ และปลดปล่อยข้อมูลเพื่อสนองตอบกลุ่มของเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งได้รับการร้องขอจากกลุ่มของไคลเอนต์บนเครือข่ายอีกทีหนึ่ง ดังนั้น SAN จึงไม่ใช่อุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่ง หรือคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง แต่เป็นระบบบริหารการจัดเก็บและดูแลกลุ่มของอุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูง โดยกลุ่มของอุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ มีการเชื่อมต่อกันทางด้านเครือข่ายก็จริง แต่ไม่ได้เชื่อมต่อผ่านทาง Switching Hub ธรรมดา แต่อาจเชื่อมต่อกันด้วยระบบ Fiber Channel Hub หรือ Switch หรือ เทคโนโลยีอื่นๆ ที่กำลังจะมีมาในอนาคต
SAN สามารถให้ความยืดหยุ่นในการบริการจัดการกับระบบ รวมทั้งการจัด Configuration ซึ่งในที่นี้หมายถึง ความยืดหยุ่นสูงในการกำหนด ขนาดหรือลดขนาดการบรรจุเก็บข้อมูลข่าวสารของระบบเราสามารถเพิ่มหรือลดจำนวนของเซิร์ฟเวอร์หรืออุปกรณ์จัดเก็บได้เต็มที่ โดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของ SAN นอกจากนี้ภายใต้ระบบ SAN สามารถมีเซิร์ฟเวอร์หลาย ๆ ตัว หรือเป็นจำนวนมาก ที่สามารถเข้ามา Access ใช้งานในกลุ่มของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ที่ดูแลภายใต้ SAN ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ

1.       จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
ตอบ  - เทคโนโลยี  หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ด้านอื่น ๆ
ที่ได้จัดระเบียบดีแล้วมาประยุกต์ใช้ในด้านใดด้านหนึ่ง  เพื่อให้งานนั้นมีความสามารถและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น  เช่น เราเปิดพัดลมเพื่อให้ได้รับความเย็น หรือเราเปิดโทรทัศน์ดูเพื่อให้ได้รับความบันเทิง
                                       - สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บรวบรวมและเรียบเรียง เพื่อใช้เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้  เช่น ตู้เอทีเอ็ม ที่ช่วยให้เราเบิกถอนเงินสดได้สะดวก และรวดเร็ว แทนที่จะใช้ระบบสมุด แค่ใช้บัตรก็สามารถทำได้ทุกอย่าง ตั้งแต่เบิก ถอน จ่ายค่าโทรศัพท์ ค่าสินค้าต่าง ๆ
                                          - เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานที่เกี่ยวกับการประมวลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ  ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อช่วยให้การสื่อสารและการส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น  เช่น    โทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ต ที่มีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรา
คือสร้างความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร  การเข้าถึงข้อมูลจำนวนมากได้อย่างรวดเร็วและได้ข้อมูลที่ทันสมัยตลอดเวลา
                                           - ข้อมูล  หมายถึง  ข้อเท็จจริง ซึ่งอาจเป็นข้อความ ตัวเลข สัญลักษณ์ รูปภาพ กราฟ หรือเสียง  หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและยังไม่ผ่านการวิเคราะห์ ดังนั้น เหตุการณ์จึงเป็นข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น  ซึ่งจะคงสภาพความเป็นข้อมูลตลอดเวลา แม้ว่าจะไม่ถูกนำมาใช้งานก็ตาม  เช่น
                          - ฐานความรู้  หมายถึง องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้เรื่องต่างๆ การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดผ่านประสาทรับความรู้สึกทั้ง 5 ของเราซึ่งประกอบด้วย ตา หู จมูก ลิ้น เเละกาย รับรู้สิ่งต่างๆรอบตัวเข้ามาไว้ และอาศัยใจของเราในการเสริมสร้างเป็นฐานความรู้ขึ้น เกิดเป็นความรู้ของ เราที่มีองค์ความรู้ อันเป็น มรดกเราเอง เป็นของเราเองเพื่อเป็นการพัฒนาเราเอง จากความรู้อันเป็นส่วนผสมของการอ่าน-ฟัง ทักษะ ประสบการณ์ และการประมวลความรู้ของเรา สามารถพัฒนาเกิดปัญญา อันเป็นความรอบรู้ ที่มีสติ สมาธิ เป็นพื้นฐาน และสามารถใช้ประโยชน์ต่อสาธารณชนได้ต่อไป ตัวอย่างฐานความรู้ เช่น การอ่านหนังสือ, ทักษะในด้านต่างๆ, ประสบการณ์ ฯลฯ







2. โครงสร้างของสารสนเทศมีอะไรบ้าง  จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
                                ตอบ  โครงสร้างของสารสนเทศ มีดังนี้
                                          1. ระดับล่างสุด  เป็นการใช้คอมพิวเตอ์ทำงานประมวลผลข้อมูล ซึ่งเรียกว่าระบบการประมวลผลรายการ (Transaction Processing system)   ซึ่งใช้ในการปฏิบัติงานประจำวัน
ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกหรือจัดเก็บการประมวลผลที่เกิดขึ้นแต่ละวัน และให้สารสนเทศเบื้องต้น โดยการนำระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยทำงานแทนระบบที่ทำด้วยมือ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ส่วนใหญ่เป็นระบบติดต่อกับลูกค้าในแต่ละวัน เช่น  การจองบัตรชมภาพยนตร์ การจองตั๋วโดยสารเครื่องบน หรือการฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ
                                          2. ระดับที่สอง  เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ  เพื่อใช้ในการวางแผนการตัดสินใจและการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน  ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการดำเนินงาน
(operation control)
                                          3. ระดับที่สาม  เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับกลางใช้ในการระดับกลางใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้น ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการจัดการ (management control)
                                          4. ระดับที่สี่  เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับสูง  สำหรับใช้ในการวางแผนระยะยาว ซึ่งเรียกว่าการวางแผนกลยุทธ (strategic planning)

3. วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
                                ตอบ  วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้
        1.  ยุคการประมวลผลข้อมูล (data processing era) เป็นยุคแรก ๆ ของการใช้ระบบ
คอมพิวเตอร์ วัตถุประสงค์ช่วงนั้น คือเพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลประจำวันเพื่อลดค่าใช้จ่ายและบุคลากรลง 
       2.  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (management information system : MIS) เป็น
ยุคที่มีการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในงานด้านการตัดสินใจ ดำเนินการ ควบคุม ติดตามผล ตลอดจนวิเคราะห์งานของผู้บริหาร
        3.  ระบบจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (information resource management system :
IRMS) เป็นการเรียกใช้สารสนเทศ เพื่อที่จะช่วยในการตัดสินใจในการนำองค์กรหรือหน่วยงานไปสู่เป้าหมายอันเป็นความสำเร็จ
4.       ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology era) ในปัจจุบันเทคโนโลยีมี
ความเจริญอย่างรวดเร็ว ทำให้มีทางเลือกและเกิดรูปแบบใหม่ ๆ ของสินค้าและบริการ รวมเรียกว่าเป็นที่มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ โดยมุ่งเน้นของการให้บริการสารสนเทศ


                                                บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
1. องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง
                                ตอบ  องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่
1.       ฮาร์ดแวร์ (Haerware)
2.       ซอฟท์แวร์  (Software)
3.       บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (People ware)
4.       ข้อมูล (Data) และสารสนเทศ (Information)
5.       ระเบียบปฏิบัติและกระบวนการ (Procedure)
6.       ระบบสื่อสารข้อมูล (Data Communication)
2. ฮาร์ดแวร์ คืออะไร
                                ตอบ  ฮาร์ดแวร์เป็น ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ หมายถึง ส่วนที่เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบขึ้นมาใช้งานได้  ซึ่งสามารถแบ่งส่วนประกอบได้ 4 ส่วนที่สำคัญ คือ
                                        1. อุปกรณ์รับข้อมูลเข้า (Input  Device)
                                        2. อุปกรณ์หน่วยประมวลผล
                                        3. อุปกรณ์แสดงผล
3. ซอฟท์แวร์คืออะไร
                                ตอบ  ซอฟท์แวร์ เป็นส่วนของโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง  เพื่อที่จะสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้  ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวอาจจะเขียนอยู่ในรูปของภาษาเครื่องที่จะทำให้เครื่องเข้าใจและทำงานได้โดยตรง  แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1.ซอฟท์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่อง
คอมพิวเตอร์ และควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทุกอย่างที่ต่อพ่วงกัน 
                                       2. ซอฟท์แวร์ประยุกต์ หรือโปรแกรมประยุกต์   เป็นโปรแกรมประยุกต์ใช้งานเฉพาะด้าน  ซึ่งอาจจะได้จากการเขียนโปรแกรมขึ้นมาใช้งานเองในหน่วยงานหรือเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ
4. หน้าที่ของอุปกรณ์รับข้อมูลเข้า คือ...
                                ตอบ  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูลเข้าไปสู่หน่วยประมวลผลกลาง  ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลคำสั่งต่างๆ ผ่านอุปกรณ์ เหล่านี้เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้
5. หน้าที่ของอุปกรณ์ประมวลผล คือ...
                                ตอบ  การประมวลผลของคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นจากการทำงานประสานกันของหน่วยประมวลผลและหน่วยความจำหลักหรือหน่วยความจำภายใน โดยหน่วยประมวลผลจะทำหน้าที่ควบคุมและปฏิบัติการตามขั้นตอนของโปรแกรม ในขณะที่หน่วยความจำจะเป็นที่พักของโปรแกรม

ข้อมูลนำเข้า และผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำออกไปแสดงทางอุปกรณ์แสดงผล  ดังนั้นตลอดการประมวลผลจึงมีการติดต่อประสานงานกันระหว่างหน่วยประมวลผลกับหน่วยความจำอยู่ตลอดเวลาอย่างเป็นระบบ  เพื่อให้การเรียกใช้โปรแกรมหรือข้อมูลสามารถทำได้อย่างรวดเร็วต่อเนื่องและถูกต้องเป็นขั้นตอน  ทั้งสองหน่วยดังกล่าวนี้ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่โดยตรงและอุปกรณ์เสริมเพื่อขยายความสามารถให้การประมวลผล ทำได้อย่างรวดเร็ว  ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้บรรจุไว้บนแผงวงจรหลัก (Mainbord หรือ Motherboard)  นอกจากนี้ภายในแผงวงจรหลักต้องมีส่วนที่ทำการเชื่อมต่ออุปกรณ์ดังกล่าวกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น อุปกรณ์รับข้อมูล  อุปกรณ์แสดงผล เป็นต้น  เพื่อให้ทุกหน่วยสามารถทำงานได้
6. หน้าที่ของหน่วยความจำ คือ...
                                ตอบ  เป็นส่วนที่หน้าที่ในการเก็บคำสั่งและข้อมูล  รวมทั้งผลที่ได้จากการประมวลผลจากส่วนคำนวณและเปรียบเทียบ  นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการส่งหริคัดลอก (Copy) ข้อมูลจากหน่วยความจำ
ไปยังหน่วยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องข้อมูล  แต่ละข้อมูลจะถูกกำหนดตำแหน่งให้เก็บในหน่วยความจำเพียงตำแหน่งเดียวหน่วยความจำกำหนดเป็นไบต์ (Byte) ซึ่งหมายถึงตัวอักษรหรือสัญลักษณ์  1 ตัว ที่กำหนดเป็นรหัสจากบิต (Bit) ตามมาตรฐานการกำหนดรหัส
7. จงบอกถึงหน่วยความจำสำรอง

                   ตอบ  เป็นหน่วยความจำที่ใช้ความเร็วในการส่งข้อมูลสูง  หน่วยความจำส่วนนี้จะทำหน้าที่เก็บข้อมูลโปรแกรมและผลลัพธ์ในระหว่างการประมวลผลเป็นส่วนที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถส่งข้อมูลหรือโปรแกรมเข้าไปเก็บ  เพื่อประมวลผลซึ่งส่วนควบคุมจะแบ่งเนื้อที่ในหน่วยความจำ ออกเป็นส่วนคือ ส่วนเก็บข้อมูล (Input Area) ส่วนที่ใช้เก็บผลลัพธ์ (Output Area) ส่วนเก็บโปรแกรม (Program Area) ซึ่งหน่วยความจำชนิดนี้แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ DRAM (Dynamic RAM) SRAM (Static RAM) และ CMOS.หน่วยความจำสำรอง (Storage) คลักของ จะมีราคาสูงและมีความสามาร

8. หน้าที่หลักของอุปกรณ์แสดงผล คือ...
                                ตอบ    อุปกรณ์แสดงผล  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับผลจากการประมวลผลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก  ออกแสดงตามลักษณะของอุปกรณ์  ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ประเภทที่นิยมใช้ คือ จอภาพ  เครื่องพิมพ์  เครื่องวาดรูปพลอยเตอร์ ลำโพง เครื่องฉายภาพ หูฟัง
9. จงบอกถึงอุปกรณ์ในการพิมพ์
                                ตอบ เป็นอุปกรณ์แสดงผลออกทางกระดาษ  อาจเป็นกระดาษต่อเนื่อง  กระดาษพิมพ์ขนาดต่างๆ หรือแบบฟอร์มที่ได้กำหนด  เราสามารถแบ่งเครื่องพิมพ์ตามวิธีการพิมพ์ได้ 2 ประเภท ดังนี้
เครื่องพิมพ์ประเภทประเภทกระทบ  และเครื่องพิมพ์ชนิดไม่กระทบ



10. หน้าที่หลักของบุคลากรคอมพิวเตอร์
                                ตอบ  บุคลากรคอมพิวเตอร์  มีหน้าที่ที่ปฏิบัติงานตามกระบวนวิธีการในกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ ได้แก่
                                          1. นักวิเคราะห์ระบบและออกแบบระบบงานคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผลนั่นเอง   นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ    เจ้าหน้าที่วิศวกรรมระบบ   และเจ้าหน้าที่จัดการระบบฐานข้อมูล
                                          2. นักพัฒนาโปรแกรม ทำหน้าที่ในการออกแบบโปรแกรมและเขียนโปรแกรม เช่น โปรแกรมเมอร์
                                          3. เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลและเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น
 การบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือการส่งข้อมูลเข้าสู่การประมวลผล และควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์